วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

การออกแบบขวดน้ำหอม

การออกแบบขวดน้ำหอม
น้ำหอมนั้นถือเป็นสิ่งที่มีค่าในหลายวัฒนธรรมมาตั้งแต่ในยุคโบราณ โดยคุณค่าของนั้นไม่ได้อยู่แค่เพียงที่ตัวน้ำหอมเท่านั้นแต่ยังอยู่ที่ตัวขวดหรือตัวภาชนะที่บรรจุน้ำหอมอีกด้วย โดยขวดน้ำหอมของคนในแต่ละวัฒนธรรมนั้นก็มีความแตกต่างทั้งวัสดุที่นำมาทำขวดน้ำหอม และยังมีรูปร่างที่แตกต่างกันอีกด้วย

ขวดน้ำหอมที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ได้มีการค้นพบนั้นเป็นขวดน้ำหอมที่มาจากยุคอียิปต์ ซึ่งขวดน้ำหอมนั้นทำมาจากหินและหินอ่อนสีขาวที่เรียกว่า alabaster สาเหตุที่คนอียิปต์เลือกหินประเภทนี้มาทำขวดน้ำหอมเนื่องมาจากหินประเภทนี้สามารถเก็บความเย็นได้เป็นอย่างดีจึงทำให้น้ำหอมที่บรรจุอยู่ภายในมีอุณหภูมิเย็นอยู่ตลอดจึงสามารถคงกลิ่นที่หอมอยู่ได้นานขึ้น

ขวดน้ำหอมอีกรูปขวดน้ำหอมอีกรูปแบบหนึ่งที่พบได้มากเช่นกันในสมัยอียิปต์นั้นคือภาชนะน้ำหอมที่ทำจากเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีรูปร่างหลากหลายทั้งรูปเลียนแบบของคน สัตว์หรือเทพเจ้า ซึ่งแสดงความคิดสร้างสรรและคตินิยมของคนในยุคสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ขวดน้ำหอมจำนวนมากถูกพบในสุสานของคนอียิปต์ซึ่งขวดน้ำหอมที่ใช้ในพิธีการฝังศพนั้นจะทำมาจากไม้ซี่งมีรูปร่างที่แตกต่างกันไปตามชนิดของน้ำหอมที่บรรจุอยู่ภายใน

ในช่วงศตวรรตที่ 13 ถึง 18 ได้มีนำกระเบื้องเคลือบมาใช้ทำเป็นจานชามหรือภาชนะต่างกันเป็นอย่างแพร่หลายซึ่งได้มีการนำกระเบื้องเคลือบมาทำเป็นขวดหรือจานผสมน้ำหอมด้วยเช่นกัน ซึ่งแม้ขวดน้ำหอมกระเบื้องเคลือบที่คนธรรมดาในนยุคนั้นใช้กันทั่วไปมักไม่มีการตกแต่งที่หรูหรามากนักเนื่องจากขวดน้ำหอมนั้นถือเป็นของธรรมดาที่ใช้กันแพร่หลายจนถือเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นพื้นฐานของคนทั่วไปในช่วงนั้นเลยทีเดียว

ขวดน้ำหอมที่ทำจากแก้วนั้นได้มีเริ่มมีการนำมาใช้ประเทศแถบอาหรับตั้งแต่ 1500 ปีก่อนคริสตกาล ข้อดีของขวดน้ำหอมที่ทำจากแก้วนั้นคือสามารถกั้นไม่ให้อากาศผ่านเข้าหรือออกจากขวดได้ทำให้น้ำหอมไม่ระเหยออกไปจากขวดเก็บอีกทั้งขวดแก้วยังมีน้ำหนักที่เบาทำให้สามารถหยิบใช้หรือพกพาได้่ง่ายจึงทำให้ขวดแก้วเป็นที่นิยมใช้กันอย่างมากในการเก็บน้ำหอม

โดยขวดน้ำหอมแก้วนี้ได้แพร่หลายไปทั่วโลกตามเส้นการค้าของชาวอาหรับ โดยในช่วงเวลาต่อมาเมื่อกระบวนการในการทำแก้วมีการพัฒนาขึ้นจึงทำให้ช่างทำขวดแก้วสามารถสร้างแก้วที่มีสีสรรที่หลากหลายและสวยงามได้มากขึ้น ซึ่งการใช้น้ำหอมในพิธีศพนั้นยังพบได้ในสุสานโบราณของคนในประเทศอาหรับทั้งหลายในแถบปาเลสไตย

เช่นเดียวกับที่พบกันในยุคอียิปต์ โดยภาชนะน้ำหอมในแถบอาหรับนั้นมีลักษณะเป็นขวดแก้วทรงสูงขนาดใหญ่ที่มีคอขวดยาวและแคบ ซึ่งการใส่ขวดน้ำหอมไว้ในสุสานของชาวอาหรับนั้นมีจุดประสงค์เพื่อช่วยในการกลบกลิ่นของศพ

ประเทศในทวีปยุโรปนั้นมีการใช้น้ำหอมกันอย่างแพร่หลายมายาวนาน โดยในช่วงศตวรรตที่ 17 ถึง 19 นั้นการใช้น้ำหอมที่หรูหรานั้นจะจำกัดอยู่แค่กลุ่มชนชั้นสูงหรือพวกขุนนางและคนในราชวงศ์เสียเป็นส่วนมาก ขวดน้ำหอมที่ใช้กันในประเทศแถบยุโรปนี้จึงมีลักษณะที่หลากหลายมาก โดยวัสดุที่นำมาใช้ทำขวดน้ำหอมนั้นมีทั้งที่ทำมาจากแก้ว ทอง เงิน กระเบื้องเคลือบ อัญมนี หรือแม้แต่เปลือกหอยอีกด้วย

ส่วนภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องหอมที่ประเภทเผาเพื่อให้กลิ่นก็มีการออกแบบเป็นทั้งแบบกระถางเพื่อวางบนโต๊ะอาหารหรือ ตามบริเวณต่างๆในบ้านและมีทั้งแบบที่เป็นภาชนะที่เป็นเครื่องแขวนเพื่อนำมาใช้ห้อยเพื่อให้กลิ่นกระจายไปได้ทั่วบริเวณที่ต้องการ ซึ่งภาชนะแบบนี้ยังได้มีการนำมาใช้ในการทำพิธีการทางศาสนาในโบสถ์ตั้งแต่ในสมัยอดีตจนถึงในยุคปัจจุบันอีกด้วย

ในช่วงศตวรรตที่ 17 ศูนย์กลางของอตสหกรรมน้ำหอมในยุคต้นนั้นจะอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสเสียเป็นส่วนมาก และเมื่อเวลาผ่านไปจนถึงยุคศตวรรตที่ 18 เครื่องหอมที่ใช้ในยุคนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวหรือครีม (pomade) ที่มีสารตัวทำละลายหลักเป็นแอลกอฮอล์และกรดน้ำส้มเป็นส่วนมาก ส่วนโทนกลิ่นที่นิยมในช่วงต้นของยุคนี้ก็ได้แก่กลิ่นที่หอมอย่างโดดเด่นแบบเครื่องหอมหรือ Aromatic Note ไปจนถึงช่วงปลายยุคผู้คนจึงเริ่มที่จะหันมานิยมโทนกลิ่นแบบนุ่มนวลละเอียดอ่อนแบบดอกไม้หรือ Floral Note กันมากขึ้น

ผู้คนสมัยโบราณมักจะนำกล่องเล็กๆที่บรรจุเครื่องหอมหรือน้ำหอมไว้ภายในเพื่อให้สามารถนำน้ำหอมมาใช้นอกสถานที่ได้อย่างสะดวกขึ้น ซึ่งต่อมาภาชนะบรรจุน้ำหอมนั้นยจึงได้มีการพัฒนาโดยมีการออกแบบรูปร่างให้เหมือนกับเครื่องประดับเพื่อให้สามารถใช้ใส่กับชุดเสื้อผ้าแบบต่างๆได้ด้วย เช่นมีการออกแบบขวดน้ำหอมเป็นเข็มกลัดติดที่อกเสื้อหรือที่เข็มขัด สร้อยคอ กำไล และ แหวน อีกทั้งยังได้มีการนำช่างอัญมนีและช่างทองที่มีฝีมือมาช่วยในการสร้างสรรให้ขวดน้ำหอมดูสวยงามมากขึ้นอีกด้วย

รูปแบบของขวดน้ำหอมนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงปลายศตวรรตที่ 19 โดยได้เริ่มนำแนวความคิดของศิลปะเข้ามาผสมผสานกับแนวความคิดของการออกแบบขวดน้ำหอมมากขึ้น ซึ่งรูปแบบของศิละปะที่ได้รับความนิยมจากผู้คนทั้งในทวีปยุโรปและ อเมริกาในช่วงเวลานั้นคือศิลปะในรูปแบบ Art Nouveau

ซึ่งเป็นรูปแบบของศิลปะและการออกแบบที่ได้แรงบันดาลใจมาจากรูปทรงของพืชและดอกไม้ตามธรรมชาติ ซึ่งความนิยมต่อศิลปะแบบ Art Nouveau ยังได้รับความนิยมในการออกแบบตรายี่ห้อน้ำหอมหรือกล่องใส่ขวดน้ำหอมในช่วงเวลานั้นอีกด้วย ตัวอย่างของขวดน้ำหอมที่ออกแบบในช่วงนั้นได้แก่

น้ำหอม Bouquet Nouveau ซึ่งออกแบบโดยบริษัท Roger & Gallet perfumeและน้ำหอม Royal Vaissier ซึ่งออกแบบขวดโดย Cristalleries de Baccarat ที่ได้นำรูปสัญลักษณ์ของดอกลิลลี่ที่เรียกว่า Fleur-de-lis มาใช้ประดับบนขวด สัญลักษณ์ Fleur-de-lis นี้เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่ในฝรั่งเศสซึ่งมีการนำมาใช้ทั้งในลวดลายของผ้า ในสถาปัตยกรรมก่อสร้าง หรือแม้แต่ในตราประจำเมืองหรือตรายศของกลุ่มอัศวินที่เรียกว่า Coat of Arms อีกด้วยซึ่งในปัจจุบันสัญลักษณ์นี้ยังคงพบเป็นได้เช่นในสัญลักษณ์ขององค์การลูกเสือ

เมื่อเข้าสู่ต้นศตวรรตที่ 20 รูปแบบขวดน้ำหอมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงเวลานั้นคือการออกแบบขวดน้ำหอมแบบแก้วใสหรือ คริสตอล ซึ่งช่วยเพิ่มความรู้สึกทีดูหรูหราให้กับน้ำหอมได้เป็นอย่างดี ในส่วนฝาของน้ำหอมนั้นมักออกแบบโดยใช้สีของโลหะที่ดูแวววาวเข้ากับความสว่างใสของตัวขวดแก้ว

ในช่วงปี 1910 เป็นยุคที่ความรู้และแนวคิดในเชิงจิตวิทยาได้เริ่มต้นขึ้นและ ได้ส่งผลกระทบต่อความคิดและมุมมองของผู้คนที่มีต่อวัฒนธรรมอย่างชัดเจนซึ่งส่งผลต่อแนวความคิดในงานออกแบบขวดน้ำหอมด้วยเช่นกัน ในยุคนี้เป็นยุคที่น้ำหอมที่ขายตามท้องตลาดเริ่มมีการแบ่งประเภทไปตามการใช้ในช่วงเวลาต่างๆอย่างเช่น การแบ่งน้ำหอมที่ใช้ในการออกงานกลางวันหรือกลางคืน รวมถึงน้ำหอมสำหรับเฉพาะตามฤดูกาลและได้มีการทำน้ำหอมเฉพาะบุคคลอีกด้วย

ขวดน้ำหอมที่เป็นตัวอย่างของแนวคิดในช่วงเวลานี้ก็คือ น้ำหอม Voila pourquoi j'aimais Rosine ของ Guerlain ซึ่งมีแนวคิดการออกแบบให้เหมือนกับแจกันดอกไม้ โดยส่วนของขวดน้ำหอมจะทำจากแก้วใสมีรูปทรงแบบเดียวกับแจกันและใการนำดอกไม้เทียมมาติดประดับไว้ที่ส่วนของคอขวดเพื่อช่วยบังส่วนฝาขวดจะอยู่ใต้ช่อดอกไม้ ซึ่งแนวคิดการออกแบบขวดน้ำหอมเป็นแจกันดอกไม้นี้ได้ถูก Guerlain นำมาใช้อีกครั้งในการออกแบบขวดน้ำหอม Muguet ซึ่งมีการนำผ้าบางๆมาทำการม้วนเป็นรูปร่างของดอกไม้ประดับที่คอขวด

แนวคิดการออกแบบขวดน้ำหอมที่แปลกใหม่นี้ได้รับการตอบรับจากตลาดอย่างดีเยี่ยมซึ่งส่งผลให้ความหลากหลายในการออกแบบขวดน้ำหอมมีการขยายตัวออกไปอย่างมาก โดยตัวอย่างขวดน้ำหอมที่มีแนวคิดในการออกแบบที่หลากหลายในช่วงเวลานั้นก็ได้แก่ ขวดน้ำหอม Le Mouchoir de Monsieur ของ Guerlain

ซึ่งมีการออกแบบขวดที่ทำจากแก้วหนาที่เป็นรูปทรงสามเหลี่ยมและมีลวดลายบนขวดเป็นลวดลายคล้ายกับน้ำวนหรือลายก้นหอยประดับอยู่ทุกด้าน น้ำหอม Rediviva ที่ออกแบบโดย Compagnie Francais ซึ่งได้ออกแบบขวดที่มีรูปทรงคล้ายกับกาน้ำที่ใช้ใส่กาแฟและขวดน้ำหอม Illusion ที่ออกแบบโดย Dralle นั้นมีการออกแบบกล่องใส่ขวดน้ำหอมที่ทำจากโลหะสีเงิน มีรูปทรงคล้ายกับประภาคารเรือ

โดยนักปรุงน้ำหอมที่มีชื่อเสียงในช่วงเวลานั้นก็คือ Francois Coty ซึ่งเขาไม่เพียงเป็นนักปรุงน้ำหอมเท่านั้นเขานับเป็นนักออกแบบขวดน้ำหอมและนักธุรกิจในวงการอุตสาหกรรมน้ำหอมที่ยอดเยียมอีกด้วย โดยFrancois Coty ได้ออกแบบขวดน้ำหอมสำหรับน้ำหอมที่เขาผลิตเองเช่น น้ำหอม Rene Lalique, Au Coeur des Calices, L'Entrainement และ Ambre Antique ได้อย่างสวยงามและมีน้ำหอมบริษัทอื่นได้เชิญเขาไปช่วยทำการออกแบบขวดน้ำหอมให้อีกด้วยเช่น Houbigant, Roger et Gallet, D'Orsay, Forvil, Arys และ Molinard

ในยุคหลังปี 1920 เป็นช่วงเวลาที่สงครามโลกครั้งที่ 1 เพิ่งจะสงบลงนั้น น้ำหอมได้มีการแพร่หลายจากทางทวีปยุโรปเข้าสู่ทวีปอเมริกาผ่านทหารอเมริกันที่มาทำการรบในยุโรปแถบกรุงปารีสและได้นำน้ำหอมติดตัวกลับเข้ามาด้วย ซึ่งเป็นการจุดเริ่มต้นของกระแสความนิยมน้ำหอมในอเมริกาจนส่งผลให้นักปรุงน้ำหอมและบริษัทน้ำหอมในยุโรปมากมายได้เข้ามาเริ่มลงทุนในอเมริกากันมากมาย

โดยลักษณะแฟชั่นที่ได้รับความนิยมในช่วงนั้นจะเป็นแฟชั่นแบบงานคาร์นิวอลหรือที่เรียกว่างานเทศกาลแบบ masquerade ball ซึ่งมีลักษณะการแต่งตัวที่หรูหราและมีการให้ผู้มาร่วมงานใส่หน้ากากด้วย ซึ่งแนวความคิดนี้ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการออกแบบขวดน้ำหอมเช่นเดียวกัน โดยตัวอย่างของขวดน้ำหอมและกล่องใส่ขวดน้ำหอมที่ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดแบบนี้ก็มีตัวอย่างเช่น น้ำหอม Masque Rouge ของ Guerlain ที่มีการใช้รูปหน้าจากสีแดงมาเป็นรูปสัญลักษณ์บนกล่องน้ำหอมตัวนี้

ส่วนน้ำหอม Mascarades ของ Cherigan ก็ได้ใช้รูปหน้าที่คล้ายกับหน้ากากสีทองและมีละอองผนสีทองลอยอยู่ด้านบนและมีพื้นหลังเป็นสีดำ เป็นสัญลักษณ์เช่นกัน สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนื่งของงานคาร์นิวอลนอกจากหน้ากากนั้นก็คือตัวตลกหรือ Harlequin นั้นเอง ซึ่งน้ำหอม Arlequinade ของ Rosine ก็นำลักษณะการแต่งตัวของตัวตลกในงานคาร์นิวอลนี้มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบขวดน้ำหอมด้วย

โดยลักษณะขวดน้ำหอมชนิดนี้จะมีลักษณะลวดลายเป็นผลึกแก้วทรงสามเหลี่ยม ส่วนตัวฝาจะเป็นสีเขียวเข้มซึ่งคล้ายกับสีหมวกของตัวตลกที่เป็นสีเขียวและส้ม ในส่วนของการออกแบบกล่องใส่ขวดน้ำหอมจะมีลวดลายรูปทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดสีเหลืองแดงสดใสเหมือนสีเสื้อชุดตัวตลกเช่นเดียวกัน ลักษณะขวดน้ำหอมที่ได้รับความนิยมอีกแแบบหนึ่งคือขวดน้ำหอมแบบแก้วคริสตอลใส

อย่างเช่นขวดของน้ำหอม Silver Butterfly ของ Delettrez โดยขวดน้ำหอมนี้ออกแบบโดยบริษัท Baccaratลักษณะการออกแบบจะใช้คริสตอลสีชมพูใสมาทำเป็นตัวขวดและประดับด้วยโลหะสีเงินวาวทำเป็นลวดลาย น้ำหอมที่เป็นที่นิยมอีกตัวหนึ่งในช่วงนั้นคือ Chanel No 5 ซึ่งแม้จะมีการออกแบบขวดที่เป็นทรงขวดสี่เหลี่ยมธรรมดา ซึ่งเป็นการนำแนวคิดของการออกแบบขวดน้ำหอมผู้ชายมาใช้ในการออกแบบน้ำหอมผู้หญิงเป็นครั้งแรกซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของน้ำหอมตัวนี้ที่ต้องการจะสร้างแนวคิดของความเข้มแข็งและเท่าเทียมกับผู้ชายให้กับเหล่าผู้หญิงในช่วงเวลานั้น

ในช่วงปี 1929 นั้นได้เกิดเหตุการณ์หุ้นตกครั้งใหญ่ในสหรัฐ (Wall Street Crash of 1929) นั้นทำให้บริษัทน้ำหอมมากมายได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับบริษัททำขวดน้ำหอมทั้งหลาย โดยมีเพียงบริษัทใหญ่เช่น Baccarat,Brosse และ Lalique ที่สามารถประคองตัวให้รอดพ้นจากวิกฤตในครั้งนั้นได้ ในช่วงยุคอุตสหกรรมนั้นลักษณะของขวดน้ำหอมในช่วงนั้นจะได้แรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมแบบเมืองซึ่งแตกต่างกับในสมัยก่อนที่การออกแบบขวดน้ำหอมจะมีแนวคิดจากสิ่งต่างๆในธรรมชาติ ขวดน้ำหอมส่วนมากจะมีลักษณะที่เรียบง่ายเนื่องจากมีการนำเครื่องจักรเข้ามาทำการผลิตขวดน้ำหอมแทนคนเป็นส่วนใหญ่

โดยตัวอย่างของขวดน้ำหอมที่ได้แรงบันดาลใจจากสภาพแวดล้อมเมืองนั้ได้แก่ น้ำหอม Je Reviens ของ worth ซึ่งได้แนวความคิดการออกแบบขวดและกล่องน้ำหอมมาจากลักษณะของตึกสูงที่พบได้ทั้วไปใน New York โดยลักษณะขวดจะเป็นขวดแก้วทรงสี่เหลี่ยมเหมือนทรงตึกสูงสีฟ้า ลวดลายบนขวดจะเหมือนกับลวดลายหน้าต่างของตึกสูงเช่นกัน

ส่วนน้ำหอมที่มีแรงบันดาลใจจากสิ่งประดิษฐ์สมัยใหม่ก็คือ น้ำหอม Normandie ของ Jean Patou ที่มีได้แรงบันดาลใจจากเรือเดินสมุทร Normandie ที่เป็นเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่และหรูหรามากที่สุดในเวลานั้นเหล่าผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วชั้น first class จะได้รับแจกน้ำหอมชนิดนี้เป็นของกำนัลในทุกรอบที่เดินทางโดยที่ขวดน้ำหอมนี้จะออกแบบให้เหมือนกับโมเดลของเรือ Normandie ในส่วนตรงกลางของโมเดลจะมีช่องรูปทรงกระบอกที่ใส่ขวดน้ำหอมไว้ด้านใน

เมื่อเข้าสู่ยุคของสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นทำให้ธุรกิจน้ำหอมที่หมดหยุดชะงักไปอย่างสิ้นเชิงจนกระทั่งเมื่อสงครามสงบลงบริษัทน้ำหอมก็ค่อยๆเริ่มตั้นตั้งตัวใหม่ น้ำหอมที่ได้รับความสนใจในช่วงนั้นก็อย่างเช่น น้ำหอม Miss Dior จากChristian Dior ซึ่งได้บริษัท Baccarat มาช่วยในการออกแบบขวดให้

โดยขวดจะทำจากคริสตอลใสให้ความรู้สึกสง่างามส่วนทาง Nina Ricci ก็ได้ออกน้ำหอม L'Air du Temps ซึ่งมีการออกแบบที่เน้นแนวคิดแบบโรแมนติกซึ่งเป็นที่นิยมของกลุ่มลูกค้าผู้หญิงเป็นอย่างมาก การออกแบบนั้นจะใช้ขวดที่ทำจากแก้วใสและฝาปิดจะมีการออกแบบจากรูปทรงของนกพิราบขาวหรือ Dove ส่วนตัวกล่องและสีน้ำหอมจะเป็นสีเหลืองทองให้ความรู้สึกสว่างและสดใส

ช่วงหลังปี 1950 เป็นต้นมาแนวคิดของการออกแบบขวดน้ำหอมได้ทีการผสมผสานที่หลากหลายทั้งจากแนวคิดจากธรรมชาติและจากสภาพแวดล้อมเมืองเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี แนวคิดของการออกแบบขวดน้ำหอมในยุคใหม่นี้จะมีแนวคิดของการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้แก่น้ำหอมแต่ละตัวอย่างชัดเจน นักออกแบบขวดน้ำหอมที่เริ่มมีชื่อเสียงในยุคนี้ก็ได้แก่ Pierre Dinand ที่เน้นการออกแบบขวดน้ำหอมที่มีสไตล์แบบสมัยใหม่โดยมักใช้รูปทรงเรขาคณิตต่างๆในการออกแบบอีกทั้งยังได้มีการนำพลาสติงแข็งมาทำเป็นขวดน้ำหอมด้วย นักออกแบบขวดน้ำหอมอีกคนที่เริ่มมีชื่อเสียงในช่วงนี้คือ Serge Mansau ที่เน้นการออกแบบจากภาพลักษณ์ที่มาจากธรรมชาติเป้นหลัก ส่วนบริษัทออกแบบขวดน้ำหอมที่มีมาตั้งแต่ยุคแรกเช่น Baccarat และ Lalique นั้นก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ในการออกแบบขวดน้ำหอมที่ดูหรูหราและมีคุณภาพสูงอยู่ต่อไป ในด้านความหรูหรานั้นขวดน้ำหอมในยุคนี้ก็ยังคงความหรูหราไม่น้อยไปกว่าในยุคเดิม โดยได้มีการนำช่างทำอัญมนีมากมายมาร่วมทำงานในการออกแบบขวดน้ำหอมกันมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น